|
|
|
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น |
| | |
 |
“โกวิท” ไม่นิ่งนอนใจ
สั่ง “พงศพัศ พงษ์เจริญ”
ผบช.นรต.เตรียมพร้อมข้อมูลโครงสร้างตำรวจทั่วโลก
ไว้รับมือรื้อใหญ่ตำรวจไทย
พร้อมเตรียมจัดสัมมนาสรุปเสนอคณะกรรมการของรัฐบาล
“พงศพัศ” แนะควรศึกษารอบด้านอย่างแท้จริง
ก่อนเปลี่ยนแปลง วันนี้
(19 พ.ย.) พล.ต.ท.พงศพัศ พงษ์เจริญ
ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
(ผบช.นรต.)เปิดเผยว่า พล.ต.อ.โกวิท
วัฒนะ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
(ผบ.ตร.) ได้สั่งการให้โรงเรียนนายร้อยตำรวจจัดเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างตำรวจของทุกประเทศทั่วโลก
โดยให้จัดทำข้อดี และข้อเสียหากจะต้องนำมาใช้กับประเทศไทย
ซึ่งทางโรงเรียนมีฐานข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่แล้ว
โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะจัดสัมมนาผู้เกี่ยวข้องทั้งระดับบริหารและปฏิบัติการ
ก่อนจะสรุปและนำเสนอต่อคณะกรรมการของรัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาต่อไป พล.ต.ท.พงศพัศ
ยังได้แสดงความเห็นว่า
การจะปรับโครงสร้างตำรวจจะต้องมีข้อมูลอย่างครบถ้วน
และมีการศึกษาที่รอบด้านอย่างแท้จริง
อีกทั้งยังมีปัจจัยแฝงหรือตัวแปรอื่นๆ
อีกมากมาย ที่มีส่วนสัมพันธ์กับการปฏิบัติงาน
ทั้งเรื่องจิตสำนึก
การฝึกอบรม ค่าตอบแทน
สวัสดิการ ความก้าวหน้า
รวมถึงขวัญกำลังใจ และสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน
จึงเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายควรจะนำไปพิจารณาพร้อมๆ
กับการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างด้วย อย่างไรก็ตาม
สำหรับเรื่องดังกล่าว
เมื่อวานที่ผ่านมา (18
พ.ย.) พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร
ประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบงานตำรวจกล่าวถึงเรื่องนี้ว่า
ในวันที่ 28 พ.ย. คณะกรรมการพัฒนาระบบงานตำรวจจะนัดประชุมครั้งแรกเพื่อวางแนวทางการดำเนินงานปฏิรูประบบงานตำรวจ
ตามคำสั่ง พล.อ.สุรยุทธ์
จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี
โดยเปิดโอกาสให้คณะกรรมการเสนอแนวความคิดต่างๆ
ให้ที่ประชุมพิจารณา
แต่ขณะนี้ยังไม่มีร่างการปรับโครงสร้างตำรวจแนวใดทั้งสิ้น พล.ต.อ.วสิษฐ
กล่าวต่อว่า สำหรับข้อเสนอของนายสังศิต
พิริยะรังสรรค์ สมาชิก
สนช. และเป็นหนึ่งในคณะกรรมการพัฒนาระบบงานตำรวจที่ต้องการปรับโครงสร้างให้ตำรวจไปขึ้นกับผู้ว่าราชการจังหวัดนั้น
ถือเป็นความคิดเห็นส่วนตัว
ทุกคนสามารถแสดงความคิดเห็นได้
แต่ถ้านายสังศิตนำข้อเสนอดังกล่าวไปเสนอในที่ประชุม
คณะกรรมการก็ต้องพิจารณากันว่าเหมาะสมหรือไม่อย่างไร
ส่วนตัวเห็นว่าหากตำรวจเปลี่ยนไปขึ้นกับผู้ว่าราชการจังหวัดคงต้องมีผลกระทบแน่นอน
จึงต้องพิจารณาข้อดีข้อเสนอต่างๆอย่างละเอียด
และอยากให้ประชาชนช่วยส่งความเห็นมาให้คณะกรรมการพิจารณาด้วย
เนื่องจากนายกรัฐมนตรีขอให้คณะกรรมการฟังเสียงประชาชน
และอาจจะทำประชาพิจารณ์ ประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบงานตำรวจ
ยังกล่าวถึงแนวทางการป้องกันไม่ให้การเมืองแทรกแซงตำรวจว่า
ต้องให้ประชาชนมีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องการวิพากษ์วิจารณ์
ดูแลงานตำรวจให้ใกล้ชิดมากขึ้น
ที่ผ่านมาประชาชนมีส่วนน้อย
แม้จะมี กต.ตร.แต่ก็มีบทบาทจำกัด
ขณะนี้กำลังคิดอยู่ว่าทำอย่างไรให้ประชาชนมีโอกาสเข้ามาติชม
ต้องหาวิธีดำเนินการ
ไม่เช่นนั้นการเมืองก็จะเข้ามาแทรกแซงได้
เมื่อถามว่ามีการออกมาโต้ตอบกันระหว่างข้าราชการตำรวจกับฝ่ายการเมืองถึงเรื่องการปรับโครงสร้างตำรวจจะทำให้เกิดความบาดหมางกันขึ้นหรือไม่
อดีตรอง อ.ตร.กล่าวว่า
การที่หลายฝ่ายออกมาวิพากษ์วิจารณ์การปรับเปลี่ยนโครงสร้างตำรวจที่ผ่านมาคงไม่ใช่เป็นปัญหาความขัดแย้งระหว่างองค์กร
แต่กลับเป็นเรื่องดีที่มีความเห็นหลากหลาย
คณะกรรมการก็จะนำทุกความเห็นมาพิจารณาข้อดี
และข้อเสียที่แตกต่างกัน
| | | | |
 |
 | |
|
|